• Home

  • ข่าวสาร

  • Newsletter

  • สรุปสาระสำคัญจากการเสวนา ความท้าทายของผู้ตรวจสอบกับ เทคโนโลยี AI และ Blockchain ตอนที่ 2

สรุปสาระสำคัญจากการเสวนา ความท้าทายของผู้ตรวจสอบกับ เทคโนโลยี AI และ Blockchain ตอนที่ 2

  • Home

  • ข่าวสาร

  • Newsletter

  • สรุปสาระสำคัญจากการเสวนา ความท้าทายของผู้ตรวจสอบกับ เทคโนโลยี AI และ Blockchain ตอนที่ 2

สรุปสาระสำคัญจากการเสวนา ความท้าทายของผู้ตรวจสอบกับ เทคโนโลยี AI และ Blockchain ตอนที่ 2

            สวัสดีท่านผู้อ่านและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับสรุปสาระสำคัญจากการเสวนา “ความท้าทายของผู้ตรวจสอบกับเทคโนโลยี AI และ Blockchain” ซึ่งถือเป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคม ISACA Bangkok Chapter ที่ได้ร่วมกันจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้ได้มุ่งเน้นประเด็นความท้าทายของสองเทคโนโลยีที่จะเข้ามาขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมโลกในยุคดิจิทัล ซึ่งผู้ตรวจสอบ และนักบัญชีควรตระหนักถึงอิทธิพลและผลกระทบของเทคโนโลยีดังกล่าว เมื่อถูกนำมาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ โดยในฉบับนี้ดิฉันขอสรุปสาระสำคัญของการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การปรับตัวของผู้ตรวจสอบภายในต่อเทคโนโลยี AI และ BLOCKCHAIN” โดย ดร.ภูมิ ภูมิรัตน์ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเพื่อนสมาชิกทุกท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อไปนะคะ

            ดร.ภูมิ ได้เริ่มต้นการบรรยายโดยกล่าวว่า อยากให้บรรยากาศของการสัมมนาในวันนี้ เป็นการพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน กับสองเทคโนโลยีที่เชื่อได้ว่า สถาบันการเงินได้นำมาใช้อย่างแน่นอน และองค์การต่าง ๆ คงนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต โดยสิ่งที่ ดร.ภูมิบรรยายแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้

  • นิยามของ AI คืออะไร และมีความสำคัญต่อผู้ตรวจสอบภายในอย่างไร
  • ผู้ตรวจสอบภายใน (IA) จะตรวจสอบ AI อย่างไร
  • ผู้ตรวจสอบภายในควรรับมือกับ Blockchain อย่างไร

นิยามของ AI คืออะไร และมีความสำคัญต่อผู้ตรวจสอบภายในอย่างไร
            ในความเป็นจริง AI เป็นสิ่งที่นิยามได้ยาก และปัจจุบัน AI ยังไม่มีคำนิยามอย่างชัดเจน ซึ่งต่อไปจะมีมาตรฐานมารองรับ หากจะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย “AI คือ สาขาของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการเลียนแบบปัญญาของมนุษย์ในระบบ IT” ตัวอย่างของ AI คือ เทคโนโลยีการพิมพ์ด้วยเสียง เทคโนโลยีตรวจสอบและจดจำใบหน้า(Face Recognition) และโปรแกรมตอบกลับการสนทนา (Chatbot) เป็นต้น โดยผู้ตรวจสอบสามารถใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในองค์กร เนื่องจากปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ มีการใช้ระบบดิจิทัลค่อนข้างมากจึงมีข้อมูลเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่ง Natural Language AI สามารถเข้าไปฟัง อ่านเอกสาร และเรียนรู้ข้อมูลทั้งหมด ผู้ตรวจสอบจึงสามารถสั่งการได้ว่าต้องการข้อมูลใด และให้ AI วิเคราะห์ข้อมูล โดยผู้ตรวจสอบทำการยืนยันข้อมูลนั้นอีกครั้ง
Post Date :
21 Apr 2020 16:26:13
 2864
Visitor
Create a website for free Online Stores