• หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1

  • หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมได้ดังนี้

1) การจัดทำและนำเสนองบการเงินระหว่างกาลของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระในการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินระหว่างกาลของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีมีความเห็นว่าควรมีการออกประกาศสภาฯ เกี่ยวกับการจัดทำและนำเสนองบการเงินระหว่างกาลของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะโดยให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ ๓๔ เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอรายการและการเปิดเผยข้อมูลได้ โดยไม่ถือว่าขัดกับข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ

2) การจัดทำตัวอย่างสำหรับการคำนวณและการบันทึกรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงาน คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีได้เตรียมการเผยแพร่ตัวอย่างสำหรับการคำนวณและการบันทึกรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงานโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี และลดปัญหาในทางปฏิบัติของผู้ทำบัญชี ผู้สอบบัญชี หน่วยงานกำกับดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้อง

3) การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ TFRS for NPAE คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีมีความเห็นว่าให้เผยแพร่คำถามที่เกิดขึ้นในระหว่างการอบรมสัมมนาและทางอีเมล์ ในเว็บไซต์ของสภาฯ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในวงกว้าง และช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในการปฏิบัติตามข้อกำหนดใน TFRS for NPAEs

4) Roadmap สำหรับมาตรฐานการรายงานทางการเงินและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำแผนงานเพื่อกำหนดแนวทางตลอดจนกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในการจัดทำและกำหนดให้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน แต่ละฉบับมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้เพื่อให้มีการปรับปรุงเนื้อหาของข้อกำหนดให้มีความเป็นปัจจุบันสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะได้เผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันเกี่ยวกับทิศทางของมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยต่อไป

5) การจัดทำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และการจัดประเภทของกิจการในประเทศไทย ในอนาคตอาจมีการจัดประเภทของกิจการในประเทศไทยออกเป็น 3 กลุ่ม ตามประเภทของมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีผลบังคับใช้ได้แก่ (1) กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ซึ่งปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ (2) กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่เป็นกิจการขนาดใหญ่หรือมีความพร้อมสูง(NPAEs ขนาดใหญ่และมีความพร้อมสูง) ซึ่งปฏิบัติตามข้อกำหนดของ IFRS for SMEs ที่จะจัดทำขึ้นเป็นภาษาไทย (3) กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะอื่น(NPAEs อื่น) ซึ่งปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะฉบับปัจจุบัน ที่จะได้รับการปรับปรุงให้มีความซับซ้อนน้อยลงเพื่อให้มีความเหมาะสมกับกิจการเล็กมากยิ่งขึ้น
 

โพสต์เมื่อ :
20 พ.ย. 2560 9:47:11
 3520
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์