การบันทึกบัญชีทั่วไป : ธุรกิจร้านทอง มีการรับซื้อคืนทองเก่า (สร้อย แหวน กำไล) จากลูกค้า ซึ่งทองที่ร

การบันทึกบัญชีทั่วไป : ธุรกิจร้านทอง มีการรับซื้อคืนทองเก่า (สร้อย แหวน กำไล) จากลูกค้า ซึ่งทองที่ร

Q:

การบันทึกบัญชีทั่วไป :

            ธุรกิจร้านทอง  มีการรับซื้อคืนทองเก่า (สร้อย แหวน กำไล) จากลูกค้า ซึ่งทองที่รับซื้อคืนมาคละ % ของเนื้อทอง (909596.50%) และราคารับซื้อก็คละกัน แต่สุดท้ายทองที่รับซื้อคืนทั้งหมด ต้องส่งไปที่บริษัทรับ Refine (หลอมสกัดให้เข้มข้นขึ้น) กลายออกมาเป็นทองแท่ง 99.99 %

            ทั้งนี้ร้านทองจะนำรวมทั้งหมดมาหลอมเองก่อนได้ออกมาเป็นทองแท่ง อาจจะ 95 % ในที่นี้เราสมมติว่า 10.20 กิโล  ในขั้นตอนนี้ เราจะสูญเสียไปบางส่วนจากฝุ่น หรือ ขี้ไคล หรือคราบต่างๆ คงเหลือ 10 กิโล เราต้องบันทึกค่าสูญเสียไว้ 2 ขีด  หลังจากนั้นจึงส่งทองที่หลอมเองคงเหลือ 10 กิโลไปบริษัท Refine

            บริษัท Refine เมื่อหลอมสกัดเข้มขั้นขึ้นแล้ว จาก 10 กิโลทองแท่ง 95% อาจเหลือ
เพียง 9 กิโลกรัม แต่ได้เป็นทองคำ 99.99% มีการสูญเสีย 1 กิโลกรัม แต่บริษัท Refine จะคิดค่าบริการ เช่นสมมติค่าค่าบริการ 1 ขีด  โดยร้านทองรับทองเพียงแค่ 8.9 กิโล โดยออกใบเสร็จรับเงินให้ โดยตีราคาทอง 99.99%  ซึ่งทอง 1 ขีดที่หักไปนั้นคิดด้วยราคาตลาด ณ วันนั้น เป็นค่าหลอม ส่วน Vat นั้น ให้ทางร้านทองจ่ายเป็นเงินสด  และหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายปกติ รายการที่เกิดขึ้นดังกล่าวต้องบันทึกบัญชีอย่างไร

(คำถามเดือนพฤสจิกายน 2559)

A:

สินค้าคงเหลือของกิจการตามย่อหน้าที่ 10-16 ของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง สินค้าคงเหลือ หรือ บทที่ 8 เรื่อง สินค้าคงเหลือ ย่อหน้าที่ 89-92 ของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) ได้กำหนดถึงการวัดมูลค่าของต้นทุนสินค้าคงเหลือของกิจการ

โดยท่านต้องพิจารณาว่าต้นทุนดังกล่าว เช่น ค่าหลอมและต้นทุนที่สูญเสีย เป็นส่วนหนึ่งของการได้มาซึ่งสินค้าโดยตรงหรือไม่ หากใช่ก็จะต้องรับรู้ต้นทุนดังกล่าวเป็นสินค้าคงเหลือ และรับรู้เป็นต้นทุนขายเมื่อมีการขายออกไป แต่หากต้นทุนดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ภาษีซื้อที่สามารถขอคืนได้ หรือของเสียเกินปกติ ก็มิให้รับรู้เป็นสินค้าคงเหลือของกิจการ

สำหรับภาษีที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานการบัญชีไม่ได้มีการระบุเป็นข้อกำหนดอย่างชัดเจน จึงขอให้ท่านพิจารณาและรับรู้ตามหลักการของประมวลรัษฎากรโดยเคร่งครัดและปรึกษากับทางกรมสรรพากร

ทั้งนี้ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของท่าน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และข้อมูลที่มากกว่า เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องยิ่งขึ้น

โพสต์เมื่อ :
25 ต.ค. 2560 13:44:13
โดย :
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
29 มี.ค. 2567 21:03:56
โดย :
 12092
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์