สำหรับผู้ทำบัญชีแล้ว สิ่งสำคัญนอกจากการจัดทำงบการเงินยังมีหน้างานภาษีโดยเฉพาะด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล จะพบว่ามีการรับรู้ทางด้านบัญชีและทางภาษีที่แตกต่างกันในหลาย ๆ เรื่อง ทำให้ต้องทำการปรับปรุงจากด้านบัญชีให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด เพื่อให้การนำส่งภาษีอากรถูกต้อง ครบถ้วน โดยผู้ทำบัญชีกำลังเข้าสู่ช่วงของการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กำลังจะถึงนี้
หนึ่งเรื่องที่เดิมมีความต่างจากการรับรู้รายได้และรายจ่ายของบริษัทที่มีธุรกรรมเช่าทรัพย์สิน ซึ่งกรมสรรพากรได้ออก ท.ป. 299/2561 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2561 เพื่อขจัดความต่างและให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยปรับปรุงเกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีธุรกรรมเช่าทรัพย์สิน ทั้งด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่าเพื่อให้เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป โดยขอเปรียบเทียบให้เห็นทั้งด้านมาตรฐานบัญชี และ คำสั่งกรมสรรพากรที่เปลี่ยนแปลง มีสาระสาคัญดังนี้
|
หลักเกณฑ์เดิม ท.ป. 155/2549 | หลักเกณฑ์ใหม่ ท.ป.299/2561 | ||
สัญญาเช่าดำเนินงาน เว้นแต่จะมีเกณฑ์อื่นที่เป็นระบบซึ่งสะท้อนถึงระยะเวลาที่ผู้ให้เช่าได้รับประโยชน์ที่ลดลงจากสินทรัพย์ที่ให้เช่าที่ดีกว่า
|
3.4 การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายได้ค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการให้เช่าทรัพย์สิน |
3.4 การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายได้ค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการให้เช่าทรัพย์สิน หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป |
||
........................................................................................ |
......................................................................................... |
.............................................................................................. |
||
ด้านผู้เช่า ผู้เช่าต้องรับรู้จำนวนเงินที่จ่ายตามสัญญาเช่าดำเนินงานเป็นค่าใช้จ่ายตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุสัญญาเช่า นอกจากจะมีเกณฑ์อื่นที่เป็นระบบซึ่งสะท้อนถึงระยะเวลาที่ผู้เช่าได้รับประโยชน์ได้ดีกว่า |
ด้านผู้เช่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็น ผู้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องนำรายจ่ายค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนั้น |
ด้านผู้เช่า การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สิน ให้ใช้เกณฑ์สิทธิโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายจ่ายค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการเช่าทรัพย์สิน หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป .............................................................................................. |
จะเห็นได้ว่าจาก ท.ป. 155/2549 ด้านผู้ให้เช่ากำหนดเนื้อหาเช่นเดียวกับที่มาตรฐานบัญชีกำหนด ปัญหาอยู่ที่ด้านผู้เช่าที่กำหนดเนื้อหาต่างไป คือ ไม่ได้กำหนดให้ “คำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการเช่าทรัพย์สิน” แต่กำหนดเป็น “คำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีนั้น” ทำให้เกิดความต่างของบัญชีและภาษีอากร เนื่องจากการคำนวณตลอดทั้งอายุสัญญาเช่ากับแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีโอกาสที่จะเกิดการรับรู้ด้วยยอดเงินที่ไม่เท่ากันระหว่างบัญชีกับภาษี ส่งผลให้ต้องทำการปรับปรุงเพื่อนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล เกิดความยุ่งยาก รวมถึงเกิดการตีความที่แตกต่างกันไป
ท.ป. 299/2561 จึงเป็นการปรับเนื้อหาเพื่อให้ด้านภาษีมีความสอดคล้องกับด้านบัญชี ลดภาระให้กับผู้ทำบัญชีโดย
ด้านผู้เช่า ระบุให้เป็นไปในทางเดียวกับที่มาตรฐานบัญชีกำหนด โดยปรับจาก “ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี” ขยายความเพิ่มเป็น “ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ตามส่วนแห่งระยะเวลาการเช่าทรัพย์สิน” ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งด้านผู้ให้เช่า และ ผู้เช่า ด้วย
และฉบับนี้ ทั้งด้านผู้ให้เช่าและผู้เช่า ยังเพิ่มเติมด้วยข้อความ “หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป”
ซึ่งตามที่เราทราบกันแล้วว่า มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า (TFRS16) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 นั้น มีผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการรับรู้ทางบัญชีอีกครั้ง จะเห็นได้ว่าผู้ทำบัญชียังต้องเผชิญกับความต่างด้านบัญชีกับภาษีมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ ๆ ทยอยออกมามีผลบังคับใช้ ในฐานะผู้ทำบัญชีต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอที่จะต้องทำความเข้าใจให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้การดำเนินการทั้งด้านบัญชีและภาษีอากรถูกต้องตามที่กำหนด
โดย..นางสุภรณ์ ทิวากรพรรณราย |