• หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • Newsletter

  • ผลกระทบทางธุรกิจและทางด้านบัญชีจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Interest Rate Reform)

ผลกระทบทางธุรกิจและทางด้านบัญชีจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Interest Rate Reform)

  • หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • Newsletter

  • ผลกระทบทางธุรกิจและทางด้านบัญชีจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Interest Rate Reform)

ผลกระทบทางธุรกิจและทางด้านบัญชีจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Interest Rate Reform)


            จากเหตุการณ์ที่ Financial Conduct Authority (FCA) หน่วยงานกำกับดูแลอัตราดอกเบี้ย London Interbank Offered Rate (LIBOR) ประกาศจะไม่รับรองอัตราดอกเบี้ย LIBOR หลังสิ้นปี 2564 เป็นต้นไป ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และผู้ร่วมตลาดในประเทศได้ร่วมกันหาแนวทางเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะมีการพัฒนา Fallback THBFIX เป็นอัตราดอกเบี้ยรองรับอัตราดอกเบี้ย THBFIX แล้ว ยังได้มีการพัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR หรือ Thai Overnight Repurchase Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่ ที่คำนวณจากธุรกรรมกู้ยืมระหว่างธนาคารในระยะข้ามคืนที่เกิดขึ้นจริงในตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชน โดยมี ธปท. เป็นผู้ดูแลการคำนวณและการเผยแพร่ให้ได้ตามมาตรฐานเดียวกับอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศ ทั้งนี้ คาดว่า ธปท.จะเริ่มเผยแพร่ Fallback THBFIX ภายในปี 2563


ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR โดยสรุปได้ดังภาพด้านล่าง



หนึ่งในจุดต่างสำคัญของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่
คือลักษณะการคำนวณดอกเบี้ยซึ่งจะไปทราบเมื่อปลายงวดแสดงได้ตามรูปด้านล่าง



จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงดังกล่าวผู้ร่วมตลาดควรเตรียมความพร้อม
สำหรับสัญญาที่ยังคงค้าง (Legacy Contracts) ดังนี้

Cash Products (Loans/Bonds) Derivatives
  • ขอแก้ไขสัญญา: เพิ่ม Fallback Language เพื่อให้รองรับกับ Benchmark Interest Reform
  • ทำ bilateral agreement กับคู่สัญญา เป็นราย ๆ และใช้ได้เฉพาะกับคู่สัญญานั้น ๆ
  • Adhere to ISDA Protocol ไม่มีค่าใช้จ่ายในการ Adhere หากทำภายในเงื่อนไข และใช้ได้กับทุกสัญญา Derivative และ ใช้ได้กับคู่สัญญา (ที่ Adhere) ภายใต้ ISDA
  • ไม่ต้องแก้ไขสัญญา Confirmation (Adhere หรือ ทำ bilateral agreement แล้ว)


  • ดอกเบี้ยเงินกู้รู้ปลายงวด
  • กิจการมีเวลาเตรียมเงินน้อยลงเหลือ (2-5 วัน)
  • ดอกเบี้ย floating swap รู้ปลายงวด
  • ขาที่ทำ swap เป็นดอกเบี้ยคงที่ เตรียมเงินเท่าดอกเบี้ยคงที่


  • หารือกับคู่สัญญาเรื่อง Spread ในสัญญาว่ายังเหมือนเดิมหรือไม่ เช่น 1mTHBFIX+2.50%  >> 1mFb.THBFIX + 2.50% ?
  • อาจส่งผลกระทบต่อ mark to market ในสิ้นวันทำการแรกของปี 2022

สำหรับผลกระทบทางด้านบัญชีนั้นสามารถสรุปประเด็นคร่าว ๆ ได้ดังนี้

หัวข้อ ประเด็นทางบัญชี
1 การคำนวณดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยจะรู้เมื่อปลายงวดหากมีการปิดบัญชีระหว่างงวดการชำระดอกเบี้ย จะใช้อัตราดอกเบี้ยไหนในการคำนวณ


2 การรับรู้รายการ
และการตัดรายการ
การแก้ไขสัญญาเพื่อรองรับการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะทำให้ต้องมีการตัดรายการทางบัญชีหรือไม่


3 การวัดมูลค่า หากมีการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าของธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปอัตราดอกบี้ยอ้างอิงจะทำให้มูลค่ายุติธรรมของตราสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร


4 การจัดชั้นมูลค่ายุติธรรม ธุรกรรมที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่จะมีการจัดชั้นมูลค่ายุติธรรมแบบไหนตาม TFRS 13


5 การบัญชีป้องกัน
ความเสี่ยง
ความสัมพันธ์การป้องกันความเสี่ยงจะมีผลกระทบจากการปฏิรูปอัตราดอกบี้ยอ้างอิงอย่างไร และจะเกิดความไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันความเสี่ยงที่ต้องรับรู้ในกำไรหรือขาดทุนหรือไม่อย่างไร
   

6 ผลกระทบทางภาษี การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจะส่งผลกระทบด้านภาษี เช่น การคำนวณภาษีเงินได้ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ อย่างไร


             ทั้งนี้ คณะกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ(International Accounting Standard Board “IASB”) ได้จัดทำโครงการ IBOR Reform and its Effects on Financial Reporting มาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยในปัจจุบันได้ออกเอกสารออกมาแล้วสองฉบับ โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ตาม QR Code หรือ Links ด้านล่าง

https://bit.ly/36po6O8
https://bit.ly/3mqDwqN


            ในส่วนของประเทศไทย สภาวิชาชีพบัญชีได้มีการนำการปรับปรุงของ IASB ในส่วนของ Phase ที่ 1 มาปรับใช้และประกาศลงในราชกิจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 ตาม QR Code หรือ Links ด้านล่าง

https://bit.ly/2VlLo0Z
https://bit.ly/3lpFfM2


            สำหรับในส่วนของ Phase ที่ 2 สภาวิชาชีพบัญชีอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อนสมาชิกสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดการเงินที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ย อ้างอิงได้ที่เว็บไซต์ ธปท. ตาม QR Code หรือ Link ด้านล่าง
https://bit.ly/36lUsJE
 
            คำถาม - คำตอบ เรื่อง การปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง การบัญชีเพื่อรองรับการยุติการใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง และการใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่ของประเทศไทย
https://bit.ly/35ELM0a
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์

โดย นายปิยะพงศ์ แสงภัทราชัย
ผู้บริหารกลุ่มงานผลิตภัณฑ์ธุรกิจตลาดทุน
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

โพสต์เมื่อ :
2 ธ.ค. 2563 16:55:37
 9591
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์