TH
EN
Menu
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับสภาวิชาชีพบัญชี
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผังองค์กร
คณะกรรมการ
คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านต่างๆ
คณะกรรมการจรรยาบรรณ
คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี
รายนามอดีตนายก
รายงานประจำปี
ตราสัญลักษณ์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
สำนักงานใหญ่
สำนักงานสาขา
มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี
กฎหมาย
พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ข้อบังคับ
ข้อกำหนด
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
คำชี้แจง
ระเบียบสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสาร
ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสารบัญชีแต่ละด้าน
ด้านการทำบัญชี
ด้านการสอบบัญชี
ด้านการบัญชีบริหาร
ด้านการวางระบบบัญชี
ด้านบัญชีภาษีอากร
ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี
ด้านกำหนดมาตรฐานบัญชี
ด้านพัฒนาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสารด้านต่างประเทศ
ข่าวสาร AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อบรมสัมมนา
หลักสูตรอบรมสัมมนา
In-House Training
TFAC e-Learning
การทดสอบ
รูปแบบกระดาษคำตอบ (Paper)
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Testing)
CFO Corner
บริการ
สมาชิก
ผู้ทำบัญชี
ผู้สอบบัญชี
นิติบุคคล
ผู้ฝึกหัดงาน
ผู้เข้ารับการทดสอบ
ผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)
ผู้จัดการอบรมหรือการประชุมสัมมนา
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อ
จำหน่ายหนังสือ
คำถามที่พบบ่อย
หน้าแรก
ข่าวสาร
Newsletter
ปัญหาการขจัดภาษีซ้อนของประเทศไทย เพื่อตรวจร่าง
ปัญหาการขจัดภาษีซ้อนของประเทศไทย เพื่อตรวจร่าง
ย้อนกลับ
หมวดหมู่ทั้งหมด
What’s News
หลักสูตรอบรมสัมมนา
ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี
กฎหมาย
บริการ
ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ความร่วมมือในประเทศ
อบรมสัมมนา
การให้บริการทางวิชาการจัดอบรมสัมมนาภายในองค์กร (In-House Training
จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสาร
Newsletter
เมนูลัด
Clip Video
ข่าวสารด้านต่างๆ
การรับรองหลักสูตร
ค้นหา
TFAC Online Service (Single Sign-on)
สมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
ระบบสมาชิกและผู้สอบบัญชี
ระบบฝึกหัดงาน
สมัครสอบ CPA
ยื่นคำขอดูสมุดคำตอบ
แจ้งพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง CPD
ระบบ ASEAN CPA
ระบบจดทะเบียนนิติบุคคล
ตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาที่สภาฯ รับรอง
ตรวจสอบสถานะสมาชิก
ตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชี
ข้อมูลติดต่อผู้สอบบัญชี
ตรวจค้นข้อมูลผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
ข้อมูลติดต่อนิติบุคคล (Market Place)
การตรวจสอบหลักสูตร CPD
ระบบหน่วยงานจัดการอบรม
เมนูลัด
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อ
การร้องเรียนผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
บัญชีเดียวทำอย่างไรให้ถูกต้อง
TFRS มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
TSA มาตรฐานการสอบบัญชี
ค้นหารายชื่อผู้สอบบัญชีตลาดทุน
TAC การแข่งขันตอบคำถามทางบัญชี
TACC การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชี
AccEC ประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านบัญชี
การรับรองหลักสูตร
คู่มือบริการประชาชน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ดาวน์โหลดโปรแกรม My GL
หน้าแรก
ข่าวสาร
Newsletter
ปัญหาการขจัดภาษีซ้อนของประเทศไทย เพื่อตรวจร่าง
ปัญหาการขจัดภาษีซ้อนของประเทศไทย เพื่อตรวจร่าง
ย้อนกลับ
"ปัญหาในทางปฏิบัติสำหรับแนววินิจฉัยตอบข้อหารือในการนำผลต่างของภาษีที่ได้เสียไว้ในต่างประเทศกับจำนวนภาษีที่พึงขอเครดิตได้ที่ผู้ประกอบการไทยมีสิทธินำส่วนเกินของภาษีต่างประเทศ มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ"
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสาร การติดต่อเพื่อการค้า ไม่จำกัดอยู่เพียงการทำการค้าแค่เพียงในประเทศเท่านั้น ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสที่จะได้ติดต่อทำการค้ากับคู่ค้าทั่วโลกให้ง่ายดายเพียงเข้าสู่โลก Internet ทำให้มูลค่าการซื้อขายและการให้บริการผ่านโลก Internet หรือ E-Commerce มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากมาย และเพิ่มมากขึ้น ๆ ในทุก ๆ ปี
หลายประเทศให้การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการของตนเองเข้าสู่การค้าบนโลก Internet เช่นเดียวกับประเทศไทยที่พยายามส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทย ให้เข้าทำธุรกิจการค้าหรือให้บริการกับคู่ค้าต่างประเทศผ่านโลก Internet ในขณะเดียวกันหลาย ๆ ประเทศเริ่มปรับปรุงกฎหมายภาษีของตนให้สามารถจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมบนโลก Internet เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันกับการค้าภายในประเทศของตนมากขึ้นเช่นเดียวกัน
ดังนั้นการติดต่อทำการค้าบนโลก Internet ที่เป็นธุรกรรมระหว่างประเทศ บางธุรกรรมอาจจะต้องถูกจัดเก็บภาษีหรือจำเป็นต้องเสียภาษีในประเทศคู่สัญญาเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการไทยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศไทยอยู่แล้วสำหรับธุรกรรมนั้น ๆ และยังต้องเสียภาษีในประเทศคู่สัญญาอีก (ทั้งในรูปแบบภาษีเงินได้จากการประกอบกิจการในประเทศนั้น ๆ และการถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย) จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการเสียภาษีสำหรับธุรกรรมระหว่างประเทศได้ และทำให้เกิดต้นทุนทางภาษีที่สูงสำหรับผู้ประกอบการไทยและทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้เนื่องจากมีต้นทุนทางภาษีที่สูงกว่านั้นเอง
การขจัดภาษีซ้ำซ้อนสำหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ เป็นหนึ่งในกลไกการบรรเทาภาระภาษีของผู้ประกอบการไทย จากการเสียภาษีที่ซ้ำซ้อนระหว่างประเทศ กรมสรรพากรได้มีแนวทางการขจัดความซ้ำซ้อน ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มีดังนี้
การเลือกบรรเทาโดยขอยกเว้นภาษีฯ (การเครดิต) ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 18 ประกอบกับอนุสัญญาเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยทำไว้กับต่างประเทศเลือกยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ได้เสียในต่างประเทศ
การเลือกบรรเทาโดยขอยกเว้นภาษีฯ (การเครดิต) พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 300 ประกอบกับ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคล ฉบับที่ 65 เลือกยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้เสียภาษีไว้ในต่างประเทศ
การเลือกบรรเทาภาระภาษีซ้อน โดยนำภาษีที่ได้เสียไปในต่างประเทศมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ในการตอบข้อหารือที่เกี่ยวกับเรื่องการขจัดภาษีซ้ำซ้อน กรมสรรพากรให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการไทยในการเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ขึ้นกับความเหมาะสมของผู้ประกอบการไทย เช่น จะเลือกวิธีการเครดิตหากมีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องเสียในประเทศไทยตามข้อ 1 และ ข้อ 2 หรือหากไม่มีภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะต้องเสียในประเทศไทย (มีผลขาดทุนทางภาษี) ก็ให้สามารถเลือกใช้สิทธิที่จะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
นอกจากนั้น ตามข้อหารือของกรมสรรพากร หากจำนวนภาษีที่เสียไว้ในต่างประเทศเกินกว่าจำนวนภาษีที่ใช้เครดิตได้ผู้ประกอบการไทยมีสิทธินำภาษีต่างประเทศส่วนเกินนี้มาหักเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นตามหนังสือตอบข้อหารือ เลขที่ กค 0706/10858 วันที่ : 28 ธันวาคม 2548 “หากบริษัทฯ ได้นำภาษีที่ถูกจัดเก็บในประเทศคู่ค้ามายกเว้นภาษีที่ต้องเสียในประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 300) พ.ศ.2539 โดยปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 65)ฯ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 หากปรากฏว่าการใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวมีผลต่างของจำนวนภาษีที่เสียไว้ในต่างประเทศกับจำนวนภาษีที่ขอยกเว้น บริษัทฯ มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 300) พ.ศ.2539” ตัวอย่างประกอบ เช่น ผู้ประกอบการไทย เสียภาษีจากธุรกรรมระหว่างประเทศในต่างประเทศจำนวน 100 บาท มีภาษีเงินได้นิติบุคคลจากธุรกรรมดังกล่าวจำนวน 80 บาท ผลต่าง 20 บาท (100-80) ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้สิทธินำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้การตอบในการให้สิทธินำผลต่างจากการขอเครดิตมาเป็นใช้สิทธิเป็นรายจ่ายได้เพิ่มเติมดูเหมือนจะเป็นคุณแก่ผู้ประกอบการในประเทศไทย
แต่หากพิจารณาข้อจำกัดในการใช้สิทธิดังกล่าวในการนำภาษีที่ได้เสียไว้ในต่างประเทศมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องตามห้ามตามมาตร 65 ตรี (6) ก็ยังคงต้องพิจารณาการใช้สิทธิที่จะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามมาตรา 65 ที่กำหนดให้ “การคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใดแม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น”
ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าว การที่หนังสือข้อหารือดังกล่าว ตอบว่า “ผลต่างของจำนวนภาษีที่เสียไว้ในต่างประเทศกับจำนวนภาษีที่ขอยกเว้นบริษัทฯ มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6)”
ผู้ประกอบการไทยจะต้องใช้สิทธินำผลต่างดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาที่บันทึกรายได้ที่ต้องเสียภาษีในต่างประเทศ ซึ่งหากรอบระยะเวลาบัญชีนั้นผู้ประกอบการไม่มีเงินได้อื่น ๆ ในประเทศไทยหรือจากแหล่งอื่นอีกเลยก็จะมีผลทำให้ไม่สามารถใช้สิทธินำผลต่างดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายได้ และยังมีผลให้ไม่สามารถขจัดภาระภาษีซ้อนได้เพิ่มขึ้นเลย เนื่องจากผลจากการคำนวณกำไรสุทธิภายหลังจะทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงเมื่อนำภาษีที่ได้เสียไปในต่างประเทศมาเครดิตก็ยังคงมีผลต่างสำหรับภาษีที่ได้เสียไปในต่างประเทศเหลืออยู่อีก
อีกทั้งในการขจัดภาระภาษีซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมระหว่างประเทศด้วยวิธีการเครดิตภาษีหรือการให้นำมาเป็นรายจ่าย กรมสรรพารยังกำหนด ผู้ประกอบการไทยต้องมีภาระเพิ่มขึ้นจากการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานตามที่กรมสรรพากรกำหนด ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน
เป็นผลให้ผู้ประกอบการไทยมีต้นทุนในการประกอบกิจการสูงกว่าผู้ประกอบการในประเทศอื่นที่มีกฎหมายภายในที่สามารถขจัดความซ้ำซ้อนของภาษีที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมระหว่างประเทศได้มากกว่า เช่น ประเทศสิงคโปร์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากต่างประเทศ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการในประเทศสิงคโปร์มีภาระต้นทุนต่ำกว่าผู้ประกอบการไทย และยังไม่มีภาระในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อการพิสูจน์เพื่อขอใช้สิทธิเครดิตภาษี ดังกล่าวอีก
เมื่อโลกของการทำการค้าเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันได้บนโลกของการทำการค้าที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว นโยบายในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยโดยรัฐบาล ไม่ควรจำกัดการสนับสนุนเพียงด้านเทคโนโลยี ด้านการเงิน ด้านการขยายตลาดแต่ควรปรับปรุงกฎหมายภาษีภายในประเทศให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการในประเทศอื่น ๆ ได้ รัฐบาลควรมีนโยบายให้กรมสรรพากรกลับมาพิจารณาปรับปรุงกฎหมายภาษีให้ทันสมัยและให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกของการทำการค้า และช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันกับนักลงทุนในต่างประเทศได้
โดย.. นางทิพย์ภาพร เกิดผล
กรรมการในคณะกรรมการ
วิชาชีพบัญชีด้านบัญชีภาษีอากร
โพสต์เมื่อ :
18 พ.ค. 2563 14:02:49
7250
ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com