TH
EN
Menu
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับสภาวิชาชีพบัญชี
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผังองค์กร
คณะกรรมการ
คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านต่างๆ
คณะกรรมการจรรยาบรรณ
คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี
รายนามอดีตนายก
รายงานประจำปี
ตราสัญลักษณ์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
สำนักงานใหญ่
สำนักงานสาขา
มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี
กฎหมาย
พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ข้อบังคับ
ข้อกำหนด
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
คำชี้แจง
ระเบียบสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสาร
ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสารบัญชีแต่ละด้าน
ด้านการทำบัญชี
ด้านการสอบบัญชี
ด้านการบัญชีบริหาร
ด้านการวางระบบบัญชี
ด้านบัญชีภาษีอากร
ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี
ด้านกำหนดมาตรฐานบัญชี
ด้านพัฒนาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสารด้านต่างประเทศ
ข่าวสาร AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อบรมสัมมนา
หลักสูตรอบรมสัมมนา
In-House Training
TFAC e-Learning
การทดสอบ
รูปแบบกระดาษคำตอบ (Paper)
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Testing)
CFO Corner
บริการ
สมาชิก
ผู้ทำบัญชี
ผู้สอบบัญชี
นิติบุคคล
ผู้ฝึกหัดงาน
ผู้เข้ารับการทดสอบ
ผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)
ผู้จัดการอบรมหรือการประชุมสัมมนา
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อ
จำหน่ายหนังสือ
คำถามที่พบบ่อย
หน้าแรก
ข่าวสาร
Newsletter
ทักษะสำคัญสำหรับผู้สอบบัญชีในอนาคต..
ทักษะสำคัญสำหรับผู้สอบบัญชีในอนาคต..
ย้อนกลับ
หมวดหมู่ทั้งหมด
What’s News
หลักสูตรอบรมสัมมนา
ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี
กฎหมาย
บริการ
ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ความร่วมมือในประเทศ
อบรมสัมมนา
การให้บริการทางวิชาการจัดอบรมสัมมนาภายในองค์กร (In-House Training
จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสาร
Newsletter
เมนูลัด
Clip Video
ข่าวสารด้านต่างๆ
การรับรองหลักสูตร
ค้นหา
TFAC Online Service (Single Sign-on)
สมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
ระบบสมาชิกและผู้สอบบัญชี
ระบบฝึกหัดงาน
สมัครสอบ CPA
ยื่นคำขอดูสมุดคำตอบ
แจ้งพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง CPD
ระบบ ASEAN CPA
ระบบจดทะเบียนนิติบุคคล
ตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาที่สภาฯ รับรอง
ตรวจสอบสถานะสมาชิก
ตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชี
ข้อมูลติดต่อผู้สอบบัญชี
ตรวจค้นข้อมูลผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
ข้อมูลติดต่อนิติบุคคล (Market Place)
การตรวจสอบหลักสูตร CPD
ระบบหน่วยงานจัดการอบรม
เมนูลัด
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อ
การร้องเรียนผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
บัญชีเดียวทำอย่างไรให้ถูกต้อง
TFRS มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
TSA มาตรฐานการสอบบัญชี
ค้นหารายชื่อผู้สอบบัญชีตลาดทุน
TAC การแข่งขันตอบคำถามทางบัญชี
TACC การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชี
AccEC ประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านบัญชี
การรับรองหลักสูตร
คู่มือบริการประชาชน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ดาวน์โหลดโปรแกรม My GL
หน้าแรก
ข่าวสาร
Newsletter
ทักษะสำคัญสำหรับผู้สอบบัญชีในอนาคต..
ทักษะสำคัญสำหรับผู้สอบบัญชีในอนาคต..
ย้อนกลับ
เปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมหรือความคาดหวังของสังคม
แรงกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะการตรวจสอบบัญชี
ทักษะสำคัญที่ทีมผู้สอบบัญชีต้องพัฒนา
-
Soft Skills
การพัฒนาทักษะทางด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมรวมถึงความสามารถในการใช้ดุลยพินิจและความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ จะเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จในการตรวจสอบ ซึ่งผู้สอบบัญชีจะได้รับจากประสบการณ์โดยตรง และการฝึกอบรมที่เหมาะสม รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ส่งเสริมต่อการพัฒนาทักษะเหล่านั้น
-
เทคโนโลยีและการสอบถามข้อมูล
ความท้าทายที่เกิดขึ้นคือ ผู้สอบบัญชี จะมีวิธีการตรวจสอบอย่างไรภายใต้สภาพแวดล้อมของกระบวนการทำงานอัตโนมัติ และความต่อเนื่องในระบบการควบคุมซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงใหม่ ๆ เช่น ความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ และความเสี่ยงที่อาจเสียชื่อเสียง(Reputation Risk) นอกจากนี้ ยังมีคำถามสำคัญอีกว่าบริษัทสอบบัญชีจะมีวิธีการตรวจสอบ Big Data อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากที่สุด ทักษะ และเทคโนโลยีที่มีเพียงพอและเหมาะสมสำหรับการตรวจสอบดังกล่าวหรือไม่ และมาตรฐานการสอบบัญชีที่มีอยู่ในปัจจุบันรองรับการใช้นวัตกรรมดังกล่าวแล้วหรือยัง
-
ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและประสบการณ์ทางด้านธุรกิจ
ทีมผู้สอบบัญชีในอนาคตรวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางธุรกิจ ควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานการสอบบัญชีอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้และเพิ่มศักยภาพให้แก่สมาชิกในทีม เพราะหากผู้สอบบัญชีไม่สามารถเข้าใจธุรกิจที่ตนเองตรวจสอบได้อย่างละเอียดและถูกต้องจะทำให้ไม่สามารถพัฒนากระบวนการคิดและออกแบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพได้
อุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
-
ประเด็นเกี่ยวกับการจัดหาและการพัฒนาบุคลากร
บริษัทไม่อาจหาบุคลากร (Junior) ที่มีลักษณะนิสัยเหมาะสมกับงานตรวจสอบ เช่น นิสัยชอบสังเกตและช่างสงสัยเนื่องจากส่วนใหญ่ยังคงใช้เกณฑ์ผลคะแนนสอบเป็นหลักในการคัดเลือก ในขณะที่กำลังสูญเสียบุคลากรที่มีคุณภาพไป (Senior) ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ทั้งนี้ หากอัตราส่วนระหว่าง Senior ต่อ Junior อยู่ในระดับสูงหรือมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางธุรกิจเข้าร่วมทีมผู้สอบบัญชี จะช่วยให้เกิดการพัฒนาความรู้และเป็นผลดีต่อทีมได้มากกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อ Junior เพราะมีพี่ ๆ คอยให้คำแนะนำ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าบางครั้งการปล่อยให้เกิดคำถามง่าย ๆ ในการปฏิบัติงานอาจส่งผลดีต่อคุณภาพงานในภาพรวมมากว่า เพราะนอกจาก Junior ไม่กลัวที่จะถามแล้วงานตรวจสอบที่ได้ย่อมมีคุณภาพและก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะไปพร้อม ๆ กัน
-
ผลกระทบของมาตรฐานและระเบียบข้อบังคับของบริษัท
หลักเกณฑ์ตามมาตรฐานไม่รองรับต่อการพัฒนาของนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน เช่น แม้ว่าเราจะทำการตรวจสอบข้อมูลจากประชากรทั้งหมด แต่มาตรฐานยังคงกำหนดให้เราตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับข้อกำหนดเฉพาะของมาตรฐานแล้ว อย่างไรก็ตามหากมีการเปลี่ยนวิธีการประเมินการปฏิบัติงาน จากเดิมประเมินว่าการปฏิบัติงานตรวจสอบได้บรรลุผลตามหลักการหรือวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบนั้น ๆ แล้วหรือไม่ เช่นนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้สอบบัญชีสามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรให้การตรวจสอบนั้น ๆ บรรลุหลักการของมาตรฐานได้ดีที่สุดซึ่งนอกจากจะช่วยปรับปรุงคุณภาพงานตรวจสอบแล้ว การมุ่งผลลัพธ์มากกว่ากำหนดขั้นตอนอาจลดเวลาที่ต้องเสียไปกับการคอยปรับมาตรฐานการสอบบัญชีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งนี้ ระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทในการกำหนดวิธีการตรวจสอบยังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ดุลยพินิจของบุคคลากร และก่อให้เกิดข้อจำกัดในการตอบรับนวัติกรรมใหม่ ๆ
-
การขาดความดึงดูดใจในอาชีพตรวจสอบบัญชี
ที่ผ่านมามีมุมมองเกี่ยวกับหน่วยงานที่มีอำนาจในการกำกับดูแลเกี่ยวกับการมุ่งเน้นหาว่าใครทำอะไรผิดและให้บทลงโทษมากกว่าการชมเชยในสิ่งที่ผู้นั้นปฏิบัติได้ดี และส่งเสริมให้ได้รับการยอมรับในวงกว้าง จึงส่งผลให้เกิดความกลัวในกระบวนการตัดสินใจ ซึ่งเป็นผลให้ลดการใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งหน่วยงานที่มีอำนาจในการกำกับดูแลต้องรีบทำการแก้ไขความเข้าใจผิดในส่วนนี้ รวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับวิชาชีพ โดยแสดงให้เห็นถึงบทบาท
ของผู้สอบบัญชีในสังคม และการใช้ความรู้ความสามารถในฐานะผู้เชี่ยวชาญเพื่อดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
การปฏิบัติงานตรวจสอบที่มีคุณภาพในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
แหล่งอ้างอิง : “AUDITOR SKILLS IN A CHANGING BUSINESS WORLD”
โดย The ResearchCommittee of The Institute of Chartered Accountants of Scotland (ICAS) และThe Financial Reporting Council (FRC)
โพสต์เมื่อ :
1 ก.ย. 2563 10:57:53
8097
ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com