TH
EN
Menu
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
เกี่ยวกับสภาวิชาชีพบัญชี
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผังองค์กร
คณะกรรมการ
คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านต่างๆ
คณะกรรมการจรรยาบรรณ
คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี
รายนามอดีตนายก
รายงานประจำปี
ตราสัญลักษณ์
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
สำนักงานใหญ่
สำนักงานสาขา
มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี
กฎหมาย
พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ข้อบังคับ
ข้อกำหนด
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี
คำชี้แจง
ระเบียบสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสาร
ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสารบัญชีแต่ละด้าน
ด้านการทำบัญชี
ด้านการสอบบัญชี
ด้านการบัญชีบริหาร
ด้านการวางระบบบัญชี
ด้านบัญชีภาษีอากร
ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี
ด้านกำหนดมาตรฐานบัญชี
ด้านพัฒนาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสารด้านต่างประเทศ
ข่าวสาร AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อบรมสัมมนา
หลักสูตรอบรมสัมมนา
In-House Training
TFAC e-Learning
การทดสอบ
รูปแบบกระดาษคำตอบ (Paper)
ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Testing)
CFO Corner
บริการ
สมาชิก
ผู้ทำบัญชี
ผู้สอบบัญชี
นิติบุคคล
ผู้ฝึกหัดงาน
ผู้เข้ารับการทดสอบ
ผู้ขอขึ้นทะเบียนนักบัญชีวิชาชีพอาเซียน (ASEAN CPA)
ผู้จัดการอบรมหรือการประชุมสัมมนา
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อ
จำหน่ายหนังสือ
คำถามที่พบบ่อย
หน้าแรก
ข่าวสาร
Newsletter
นักบัญชี (การเงิน) นักบัญชีภาษีอากร
นักบัญชี (การเงิน) นักบัญชีภาษีอากร
ย้อนกลับ
หมวดหมู่ทั้งหมด
What’s News
หลักสูตรอบรมสัมมนา
ข่าวสารสภาวิชาชีพบัญชี
เกี่ยวกับเรา
คณะกรรมการ
มาตรฐานทางวิชาชีพบัญชี
กฎหมาย
บริการ
ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ความร่วมมือในประเทศ
อบรมสัมมนา
การให้บริการทางวิชาการจัดอบรมสัมมนาภายในองค์กร (In-House Training
จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวสาร
Newsletter
เมนูลัด
Clip Video
ข่าวสารด้านต่างๆ
การรับรองหลักสูตร
ค้นหา
TFAC Online Service (Single Sign-on)
สมัครสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
ระบบสมาชิกและผู้สอบบัญชี
ระบบฝึกหัดงาน
สมัครสอบ CPA
ยื่นคำขอดูสมุดคำตอบ
แจ้งพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง CPD
ระบบ ASEAN CPA
ระบบจดทะเบียนนิติบุคคล
ตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาที่สภาฯ รับรอง
ตรวจสอบสถานะสมาชิก
ตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชี
ข้อมูลติดต่อผู้สอบบัญชี
ตรวจค้นข้อมูลผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล
ข้อมูลติดต่อนิติบุคคล (Market Place)
การตรวจสอบหลักสูตร CPD
ระบบหน่วยงานจัดการอบรม
เมนูลัด
ข้อมูลเกี่ยวกับการลงลายมือชื่อ
การร้องเรียนผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
บัญชีเดียวทำอย่างไรให้ถูกต้อง
TFRS มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
TSA มาตรฐานการสอบบัญชี
ค้นหารายชื่อผู้สอบบัญชีตลาดทุน
TAC การแข่งขันตอบคำถามทางบัญชี
TACC การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชี
AccEC ประชุมสัมมนาทางวิชาการด้านบัญชี
การรับรองหลักสูตร
คู่มือบริการประชาชน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ดาวน์โหลดโปรแกรม My GL
หน้าแรก
ข่าวสาร
Newsletter
นักบัญชี (การเงิน) นักบัญชีภาษีอากร
นักบัญชี (การเงิน) นักบัญชีภาษีอากร
ย้อนกลับ
นักบัญชี (การเงิน) นักบัญชีภาษีอากร
นักบัญชีคนส่วนใหญ่จะนึกถึงกลุ่มคนหรือบุคคลที่มีคุณสมบัติพิเศษในลักษณะของเจ้าแห่งความละเอียด มีความยากในระดับหนึ่งหากจะลอกเลียนแบบ การประสานงานหรือต้องร่วมงานด้วย น้อยนักที่ผู้ปฏิบัติงานในสายงานอื่นอยากจะต่อกรด้วย อาจด้วยเพราะคุณลักษณะที่ถูกกำหนดออกมาจากนิยามของการบัญชี และลักษณะงานที่ทำ ที่กำหนดให้จะต้องมีความรู้ความสามารถ ทั้งในเชิงวิเคราะห์ที่รอบด้าน จดบันทึกต้องครบถ้วน จำแนกได้อย่างละเอียด สุดท้ายนำไปสู่การสรุปผลจากข้อมูลนั้น ต้องจัดทำเป็นรายงานและแสดงรายการที่ถูกต้อง ด้วยสิ่งเหล่านี้จากจุดเริ่มต้นการเข้าสู่วิชาชีพบัญชี ผ่านกาลเวลา ผ่านการเรียนรู้ ผ่านการฝึกฝนและลงมือปฏิบัติ กลายเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้ผู้ที่ก้าวสู่วิชาชีพนักบัญชีมีคุณสมบัติ พิเศษ บ่มเพาะบุคลิกเฉพาะของนักบัญชี ทั้งนี้ทั้งหมดทั้งมวลเพื่อผลลัพธ์ผลผลิตที่ดีจากนักบัญชี ก็เพราะด้วยความคาดหวังจากบุคคลหรือผู้ที่ใช้ประโยชน์จากรายงานผลผลิตในความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลเหล่านั้นที่เรียกว่า
รายงานทางการเงิน
“นักบัญชีที่ผ่านมา”
อาจมุ่งเน้นในความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานทางการเงินเป็นหลัก ด้วยพัฒนาการในการจัดการทางธุรกิจ การเงินเเละการลงทุน มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ผลผลิตจากรายงานทางการเงินจึงถูกให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับ การกำหนดมาตรฐานบัญชีจึงอาจจำเป็นต้องมีความหลากหลายและความเฉพาะในเรื่องนั้น ๆ เพื่อให้การแสดงข้อมูลที่อยู่ในรายงานทางการเงินต้องถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ ในการตัดสินใจของผู้ใช้ข้อมูลที่ให้มีข้อผิดพลาดได้น้อยที่สุดหรือไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ เลย ซึ่งผลของข้อผิดพลาดอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่งคั่งและมั่นคงทางการเงินของธุรกิจหรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องแผ่กระจายในวงกว้าง และรวมไปถึงการแสดงความเห็นในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ถูกกำหนดขอบเขตการตรวจสอบและลักษณะการรายงานให้ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น ดังเห็นได้จากรูปแบบรายงานการสอบบัญชีที่เปลี่ยนแปลงไป และมาตรฐานการบัญชีต่าง ๆ เดิมที่เคยเป็นแนวทางปฏิบัติทางบัญชี ก็จะถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลง กลายเป็นมาตรฐานที่นำไปปฏิบัติ เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการตอบโจทย์ผลทางการเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งมีการจัดกลุ่มเฉพาะมาตรฐานการรายงานในกลุ่มเครื่องมือการเงิน และมาตรฐานบัญชีไทยส่วนหนึ่งจะถูกปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ขณะมาตรฐานบัญชีบางส่วนกำลังอยู่ในกระบวนการยกเลิก
“ทิศทางและบทบาทนักบัญชีในปัจจุบันและในโลกอนาคต”
แนวโน้มกำลังถูกกำหนดให้ไปในทางที่เพื่อตอบโจทย์ประสิทธิภาพในการตัดสินใจจากข้อมูลในรายงานทางการเงิน ทำให้เห็นว่าความสำคัญของผลงานจากนักบัญชี ถูกให้ความสำคัญมากขึ้นในโลกอนาคตที่มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้นักบัญชีจึงต้องไม่อาจอยู่นิ่ง จำเป็นต้องมีและเพิ่มทักษะในอีกหลาย ๆ ด้าน ทั้งนี้ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการจากผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งนักบัญชีเป็นจุดเริ่มต้นของนำข้อมูลมาประมวลผ่านกระบวนการเป็นผลงานรายงานทางการเงิน
ด้วยพัฒนาการของโลกธุรกิจและนักบัญชีต้องก้าวทันนั้น ในอีกด้านหนึ่งที่ควบคู่มากับการบัญชี คือ
“การภาษีอากรซึ่งได้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน”
เป็นข้อมูลเริ่มต้นในการจัดเก็บภาษีอากร การจัดการด้านภาษีอากรต้องมีความจำเป็นต้องก้าวทันความสลับซับซ้อนของโลกธุรกิจเช่นกัน ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในอีกด้านหนึ่งที่ภาครัฐของแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศ แต่ละอาณาเขต มีข้อตกลง ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นหลัก เป็นข้อตกลงในการจัดเก็บและนำภาษีอากรมาพัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมธุรกิจหรือสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางธุรกิจ ทางสังคม หรือใช้เป็นเครื่องมือในการสร้าง กระตุ้นให้เติบโตทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง โดยเม็ดเงินที่จัดเก็บมาจากการบริโภค การขายสินค้า การบริการ การลงทุน การใช้ทรัพย์สิน ฯลฯ เหล่านี้เกิดการจัดการทางธุรกิจทั้งสิ้น หากมองอีกมุมหนึ่ง ภาษีอากรถือเป็นต้นทุนทางธุรกิจในทุก ๆ รายการค้า ทุก ๆ แผนงานทุก ๆ จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นของรายได้ ทุก ๆ รายจ่ายทางธุรกิจที่เกิดขึ้น จะมีภาษีอากรเป็นส่วนหนึ่ง หรืออาจเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนเพิ่ม กำไรลดลง หรืออาจจะทางกลับกัน ทำให้ต้นทุนลดลง มีการเพิ่มขึ้นของกำไร เป็นส่วนประกอบสำคัญเสมอ ดังนั้นการจัดการของธุรกิจเพื่อประโยชน์และความมั่งคั่งสูงสุด ธุรกิจเองจึงมีความจำเป็นควรจะต้องมีการจัดการ การวางแผน การบริหารที่เกี่ยวกับภาษีอากร ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ หรือตั้งแต่เริ่มต้นแผนงาน ในกลุ่มธุรกิจที่มีระบบ มีการจัดการครบด้านจะมีส่วนงานด้านภาษีอากร เป็นส่วนงานหนึ่งเพื่อประโยชน์ในการวางแผนภาษีหรือการจัดการเพื่อรองรับและลดผลกระทบ รวมถึงการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของธุรกิจ และรวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติด้านภาษีอากรที่ไม่ถูกต้อง หรือ การที่ไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ก็จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินในอนาคตได้เช่นกัน
“การบัญชี (การเงิน) กับการบัญชีภาษีอากร”
ถือเป็นเพื่อนเป็นคู่หูที่ร่วมทางไปด้วยกันตลอดทางไม่เคยจากกัน แต่ก็อาจจะไม่เคยเดินทับบนเส้นทางเดียวกันเสมอไป และนับวันแนวคิด ทฤษฎี แนวการปฏิบัติต่าง ๆ ระหว่างเพื่อนก็จะมีความแตกต่างมากขึ้นจากเดิมเรื่อย ๆ จากเพื่อนที่เคยรู้ใจกัน เคยเห็นต่างกันเพียงเล็กน้อย อาจมีมุมมองที่แตกต่างกันมาขึ้นเรื่อย ๆ แต่ด้วยเส้นทางชะตาชีวิตถูกกำหนดให้ต้องมาใช้ชีวิตร่วมทางกันตลอดทาง ระหว่างเพื่อนบัญชีกับเพื่อนภาษีอากร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจ และรู้ซึ้งทำความรู้จักกันตลอดเวลา ตลอดระยะการเดินทางตลอดไป
จากปัจจุบันถึงอนาคต ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้โลกธุรกิจแคบลง ธุรกิจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อาจไม่มีวันหยุดพัก อาจไม่มีวันสุดสัปดาห์ อาจไม่มีเวลาทำการ โอกาสการเกิดขึ้นของแนวคิดทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่หลากหลาย แตกต่างจากเดิมหรือทดแทนของเดิม สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและอาจเกิดขึ้นได้ด้วยมากมายวิธีการ ด้วยการแข่งขันที่สูง มีความสลับซับซ้อนทางธุรกรรม ปริมาณข้อมูลที่มาจากทุก ๆ ด้าน เพื่อนำมาตัดสินใจมีมากมายขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสและลดความเสี่ยง
จากสิ่งที่กล่าวทั้งหมดทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ทฤษฎีใหม่ หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติใหม่ ๆ ที่มีความแตกต่างจากเดิมทั้งในทางทฤษฎีและในแนวทางปฏิบัติ ส่งผลการเกิดปรับปรุง พัฒนา มาตรฐานแนวปฏิบัติทางบัญชีมากมายหลากหลายเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สำหรับผู้ประกอบการ นักธุรกิจ จึงมีจำเป็นอย่างยิ่งในความต้องการบุคคลากรที่เป็นนักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญทางบัญชีเพื่อตอบโจทย์ผลงานรายงานทางการเงินที่ครบถ้วนและอีกด้านหนึ่งในด้านรองรับความแตกต่างด้านบัญชีภาษีอากรที่มีมากขึ้น มีความจำเป็นเช่นเดียวกันที่ต้องการบุคคลการซึ่งเป็นนักบัญชีเช่นกัน ที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษีอากรโดยเฉพาะ ซึ่งมีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาส ลดต้นทุน เพิ่มกำไร ร่วมวางแผนงาน การจัดการทางธุรกิจควบคู่ไป ขอเรียกบุคคลากรด้านนี้ว่า
“นักบัญชีภาษีอากร”
“นักบัญชีภาษีอากร”
วิชาชีพด้านนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายภายใต้ พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ตั้งแต่เริ่มประกาศใช้ ตามนิยามความหมายว่า “
วิชาชีพบัญชี หมายความว่า วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยกฏกระทรวง”
ซึ่งได้กำหนด 1 ใน 6 ด้านวิชาชีพบัญชี เป็น
“วิชาชีพด้านการบัญชีภาษีอากร”
จึงขอหยิบยกขึ้นมานำเสนอ ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ทางธุรกิจ ในโลกปัจจุบันสู่อนาคต ที่มีพัฒนาการแบบไม่รู้จบ
“การบัญชีภาษีอากร”
อาจไม่เคยกำหนดนิยามไว้อย่างเป็นทางการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้เป็นการเฉพาะ คงมีเพียงผู้เขียน ผู้แต่งตำรา ผู้ทรงคุณวุฒิบางท่าน ซึ่งได้ประมวลความเห็น ความเข้าใจ ในแต่ละบริบทของแต่ละท่านได้ให้คำนิยามไว้บ้างบางส่วน แต่ในที่นี้ขอนำเสนอคำนิยามจากคณะทำงานโครงการพัฒนานักบัญชีภาษีอากร คณะทำงานอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการบัญชีภาษีอากร สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในนิยามคำว่า
“การบัญชีภาษีอากร” คือ “การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ บันทึก จำแนก และสรุป ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคตที่มีผลกระทบทางภาษีอากร โดยเสนอเป็นรายงาน รวมถึงการให้คำปรึกษา วางแผนและแนะนำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติทางด้านภาษีอากรให้ถูกต้อง”
และนิยามคำว่า
“นักบัญชีภาษีอากร” คือ “ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีภาษีอากร”
ขอท่านที่สนใจ มีความเกี่ยวข้อง อาจจะเกี่ยวข้อง หรือคิดว่าเกี่ยวข้อง โปรดติดตามและรอพบกับ
“นักบัญชีสายพันธุ์ใหม่”
ซึ่งอาจจะมาจากคนในองค์กรของท่านเองหรืออาจจะเป็นคนที่ใกล้ตัวท่าน ที่จะมาในภาพลักษณ์ใหม่ ในภาพของ
“นักบัญชีภาษีอากร”
สำหรับบทความเกี่ยวเนื่องกับการบัญชีภาษีอากร ในช่วงเวลาถัดไปจากนี้ คาดว่าท่านผู้อ่าน (และท่านผู้ชม) อาจได้พบกับเนื้อหา เรื่องราวเหล่านี้ได้บ่อยมากขึ้น ขอให้ท่านได้ติดตาม ได้ศึกษาไปพร้อมกัน ต่อไปเรื่อย ๆ โดยจะมีผู้ที่ศึกษา ผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมกันถ่ายทอดความคิด ความเห็น ข้อเสนอแนะ และความรู้ในแง่มุมต่าง ๆ โดยผมขออนุญาตเรียกว่า
“นักบัญชีภาษีอากร เดอะซีรีส์”
และสำหรับในภาคต่อ ตอนต่อไป หรือย้อนหลัง โดยติดตามผ่านทางช่องทางการนำเสนอของสภาวิชาชีพบัญชี
สำหรับในบทความตอนต่อไป โปรดรอและติดตาม
“การบัญชีภาษีอากร... ใช่คือ... หรือแค่... (เพียง) ความแตกต่างทางบัญชีกับภาษีอากร”
โดย..นายสุริยะ ธีรวัฒนสาร
กรรมการ ในคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี
ด้านการบัญชีภาษีอากร
โพสต์เมื่อ :
4 ก.พ. 2563 15:31:07
8970
ผู้เข้าชม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com