สภาวิชาชีพบัญชีเข้าร่วมการประชุมเสมือนจริงร่วมกับ Chartered Institute of Management Accountants (CIMA)

สภาวิชาชีพบัญชีเข้าร่วมการประชุมเสมือนจริงร่วมกับ Chartered Institute of Management Accountants (CIMA)

            คุณภัทรลดา สง่าแสง ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านบัญชีบริหาร ร่วมกับผศ.ดร.ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ (อุปนายกคนที่ 1) และ ดร.สุวัจชัย เมฆะอำนวยชัย กรรมการวิชาชีพบัญชีด้านบัญชีบริหารเป็นผู้แทนในการประชุมเสมือนจริงร่วมกับ Chartered Institute of Management Accountants (CIMA)



            คุณจินนี่ ลิม ได้กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีที่สภาวิชาชีพบัญชีและ CIMA ได้เป็นหุ้นส่วนกันผ่านทาง MOU ซึ่งถึงเวลาที่จะต่ออายุอีก 5 ปี และมีความภูมิใจที่ได้ส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพในระดับสากลสู่สภาวิชาชีพบัญชีและสู่สมาชิกในการเป็นสมาชิกขององค์กรระดับสากลอย่าง CIMA ได้อย่างรวดเร็ว ความเป็นหุ้นส่วนของเราจะเป็นช่องทางแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรมและ ส่งเสริมขีดความสามารถ รวมถึงการสร้างแนวปฏิบัติที่ดีต่อวิชาชีพต่อไปในระดับสากล



           
            คุณภัทรลดา สง่าแสง เป็นตัวแทนของสภาวิชีพบัญชีในการกล่าวต้อนับและแสดงความยินดีที่ได้มีความร่วมมือกนระหว่างองกร ซึ่งทาง CIMA ได้ช่วยให้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรนักบัญชีบริหารของไทย Thai Certified Management Accountants (TCMA) ให้มีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล รวมทั้งในปีนี้สภาวิชาชีพบัญชีก็มีความประสงค์จะพัฒนา CFO ให้สามารถเผชิญความท้าทายในสถานการณ์ new normal ได้



           
            คุณเวนคาท ได้เล่าถึงความเป็นมาขององค์กร CIMA ว่าเมื่อ 9 ปีที่แล้ว CIMA ได้ร่วมกิจการ (Joint Venture) กับ American Institute of Certified Public Accountants (AICPA) และเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา CIMA และ AICPA ก็รวมกันเป็นองค์กรเดียวกันที่มีชื่อว่า Association of International Certified Professional Accountants (Association) มีการจดทะเบียนที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และมีศูนย์กลาง 3 แห่งได้แก่

  1. Durham, North Carolina ซึ่งจะดูแลด้านการบัญชีสาธาราณะ หรือ Public Accounting Functions
  2. London, UK ซึ่งจะดูแลด้านการบัญชีบริหาร
  3. Kuala Lumpur, Malaysia ซึ่งจะดุแลด้านการให้บริการของทั้งองค์กรและให้บริการสมาชิกทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงองค์กรว่ามีนักเรียนกว่า 657,000 คน.น 179 ประเทศ และมีองค์กรที่จ้างงานนักเรียนกว่า 225,000 องค์กร และได้รับการสนับสนุนหรืมีใบวุฒิบัตรรองรับกว่า 45 รายการ โดยได้กล่าวว่า “We are Global but we work local” โดยการเคารพและยอมรับองค์กรท้องถิ่นและทำตามกฎหมายขอท้องถิ่น ซึ่งทำให้การทำงานของเราเข้าถึงองค์กรและสมาชิกในองค์กรของแต่ละประเทศได้



           
            ต่อมา คุณเอ็ดมันด์ ได้เสนอแผนความร่วมมือสำหรับปี 2564 เพื่อสนับสนุนวิชาชีพบัญชีของไทย ใน 3 โครงการ ได้แก่

1. Thai Certified Management Accountants – Global Business Leaders Programme (TCMA -G) ซึ่งเป็นเส้นทางคู่ขนานกับโครงการ TCMA ของไทย โดยโครงการนี้มุ่งเน้นไปกลุ่ม C-Suite ที่ไม่ใช้สมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชี เพื่อให้ได้รับวุฒิบัตร 2 ใบพร้อมกัน คือ วุฒิบัตร CGMA ของ CIMA และ วุฒิบัตร TCMA ของสภาวิชาชีพบัญชี อย่างไรก็ตาม โครงการนี้สภาวิชาชีพบัญชีจะนำมาพิจารณาและดูแนวทางเพื่อให้คนไทยได้รับประโยชน์สูงสุด

            2. การเยี่ยมชมสภาวิชาชีพบัญชี (เสมือนจริง) จาก CEO ของ Association ในเดือนพฤษภาคม 2564 เนื่องจากสถานการร์โควิท ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาประเทศไทยได้ คุณแบรี่ ซี เมลาคอน ประธานและ CEO ของ AICPA และ CEO ของ Association จึงมีกำหนดการเยี่ยมขมสภาวาชีพบัญชีและลงนาม MOU ความร่วมมือ 2 ฉบับผ่านระบบออนไลน์เสมือนจริง ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เวลา 16.00 น. อย่างไรก็ดี สภาวิชาชีพบัญชีจะได้ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดสดพิธีการผ่านทาง Facebook live ต่อไป

          การจัดแข่งขันวิเคราะห์กรณ๊ศึกษาทางธุรกิจเสมือนจริง (Global Business Challenge : GBC)
            โดยคุณแจ็ค ได้เล่าถึงรูปแบบจัด virtual GBC สำหรับปี 2021 ในประเทศไทย และได้แนบตัวอย่างพิธีการที่จัดในปี 2020 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ตามลิงค์ https://www.facebook.com/watch/?v=226361675567861

          ทั้งนี้ ทุกท่านได้ขอบคุณในการร่วมประชุมครั้งนี้ และหวังว่าสถานการณ์โควิทจะคลี่คลายเพื่อให้เราได้มาเจอกัน

โพสต์เมื่อ :
4 มี.ค. 2564 17:36:27
 3426
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์