การจ่ายเงินปันผล : กรณีการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ บริษัทฯ มีผลขาดทุนสะสมยกมาต้นปี 58 เป็นจำนวนเงิน

การจ่ายเงินปันผล : กรณีการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ บริษัทฯ มีผลขาดทุนสะสมยกมาต้นปี 58 เป็นจำนวนเงิน

Q:

การจ่ายเงินปันผล :

กรณีการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ

บริษัทฯ มีผลขาดทุนสะสมยกมาต้นปี 58      เป็นจำนวนเงิน    100 บาท

ปี 58 มีผลกำไรสุทธิหลังภาษี                  เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท

สิ้นปี 58 บริษัท มีผลกำไรสะสมยกไป         เป็นจำนวนเงิน    900 บาท

          กรณีดังกล่าว จะสามารถจ่ายเงินปันผลได้สูงสุดเท่าใด และการกันเงินกำไรสะสม สำรองตามกฎหมายไม่น้อยกว่า 5% จากยอดกำไรสุทธิ ปี 58 หรือ จากยอดกำไรสะสม ณ วันสิ้นปี58 (เนื่องจากผลประกอบการสะสมที่ผ่านมาเป็นขาดทุนสะสม)

          กรณีที่กันเงินสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิในปีที่จ่ายเงินปันผล ไว้ไม่น้อยกว่า 5% สะสมไว้ จนเงินสำรองตามกฎหมายถึง 10% ของทุนจดทะเบียน หรือของทุนรับชำระแล้ว

(คำถามประจำเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2559)

A:

ตามที่ท่านถามมาน่าจะเป็นการจ่ายปันผลของบริษัทจำกัดใช่หรือไม่

ถ้าใช่ ให้เป็นไปตามมาตรา  1200-1205 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

โดยตามมาตรา 1201 ห้ามมิให้ประกาศอนุญาตเงินปันผล นอกจากโดยมติของที่ประชุมใหญ่ กรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้น ได้เป็นครั้งเป็นคราว
ในเมื่อปรากฏแก่กรรมการว่าบริษัทมีกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้น

ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ถ้าหากบริษัทขาดทุน ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุนเช่นนั้น

มาตรา 1202 ทุกคราวที่แจกเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุน สำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบส่วนของจำนวนผลกำไร ซึ่งบริษัททำมาหาได้จาก กิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุน ของบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้
ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท (ที่มา : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)

          ดังนั้น จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในมาตราดังกล่าว ให้จ่ายเงินปันผลได้เฉพาะส่วนของกำไรเท่านั้น คือ 900 บาท เนื่องจากห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุน และการกันสำรองให้กันจากเฉพาะส่วนของกำไรที่ทำมาหาได้สุทธิจากขาดทุนสะสม คือไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของเงิน 900 บาท ที่จะประกาศจ่ายปันผล (กันมากกว่าได้)และเพดานของสำรองตามกฎหมายคำนวณจากทุนของบริษัท ซึ่งทุนของบริษัทตามประมวลฯที่เป็นที่เข้าใจกันคือทุนที่ไปจดทะเบียนกับนายทะเบียน เพราะเรื่องของการเรียกชำระเป็นเรื่องของบริษัทแต่ละบริษัท

 ทั้งนี้ขอให้ท่านปรึกษาผู้สอบบัญชีของบริษัทอีกครั้งเนื่องจากได้รับข้อมูลและเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนกว่า และผู้สอบบัญชีเป็นผู้ที่เข้าใจในธุรกิจของท่าน

โพสต์เมื่อ :
24 ต.ค. 2560 13:37:49
โดย :
แก้ไขล่าสุดเมื่อ :
15 ธ.ค. 2567 7:03:24
โดย :
 0
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์