• หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • แนวทางในการรับรู้ผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(Expected credit loss approach)

แนวทางในการรับรู้ผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(Expected credit loss approach)

  • หน้าแรก

  • ข่าวสาร

  • แนวทางในการรับรู้ผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(Expected credit loss approach)

แนวทางในการรับรู้ผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น(Expected credit loss approach)

            เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) ได้เผยแพร่ข้อเสนอในการปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อ (loan-loss provisioning) ซึ่งแนวทางในการรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการให้สินเชื่อ (Expected credit loss approach) นี้จะช่วยส่งเสริมให้กิจการสามารถรับรู้ผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อได้ทันเวลายิ่งขึ้น ซึ่งข้อเสนอเพื่อปรับปรุงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ได้รับการจัดทำขึ้นโดยมีพื้นฐานจากข้อกำหนดเดิมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบจำลองการตั้งค่าเผื่อที่พิจารณาจากเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้กิจการสามารถรับรู้ผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ทันเวลามากยิ่งขึ้น
            ข้อเสนอในเรื่องดังกล่าวที่ได้รับการเผยแพร่ในครั้งนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นจากแบบจำลองผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) และคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกา (FASB) มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่แบบจำลองดังกล่าวได้รับการปรับปรุงให้มีความเรียบง่ายมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สะท้อนถึงความคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รับรู้ผลขาดทุนจากการให้สินเชื่ออย่างทันเวลามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้กิจการจะรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเครื่องมือทางการเงินที่อยู่ภายในขอบเขตของข้อเสนอนี้ ณ จุดที่มีการเกิดขึ้นของเครื่องมือทางการเงินหรือมีการซื้อเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว
            กิจการจะรับรู้ผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเต็มจำนวนตลอดอายุของเครื่องมือทางการเงินนั้นเมื่อเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวมีคุณภาพของสินเชื่อด้อยลงอย่างมีสาระสำคัญ ซึ่งถือเป็นเกณฑ์วัดเชิงปริมาณที่ลดต่ำลงอย่างมีสาระสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองผลขาดทุนที่เกิดขึ้นแล้ว(Incurred loss model) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดการตั้งค่าเผื่อเฉพาะเมื่อสินทรัพย์ทางการเงินนั้นใกล้ผิดนัดสัญญาเงินกู้แล้ว
            ขณะนี้คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ(IASB) อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะที่มีต่อร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงินในเรื่องดังกล่าว และอยู่ระหว่างการดำเนินงานอย่างเร่งด่วนในการให้ได้มาซึ่งข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการที่มีความสำคัญนี้ โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อร่างมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง เครื่องมือทางการเงิน: ผลขาดทุนจากการให้สินเชื่อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เป็นเวลา 120 วัน จนกระทั่งถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2556
            คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ที่สนใจได้นำไปศึกษาเพื่อให้ทราบถึงทิศทางในอนาคตของมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRSs) โดยท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารดังกล่าวได้โดย Click

โพสต์เมื่อ :
20 พ.ย. 2560 10:20:55
 4417
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์