นักบัญชีภาษีอากรกับภาษีประเภทต่าง ๆ

นักบัญชีภาษีอากรกับภาษีประเภทต่าง ๆ

            จากบทความก่อนหน้านั้นนักบัญชีภาษีอากรเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการปฎิบัติงานด้านการบัญชีภาษีอากรให้ถูกต้องด้านความต่างของบัญชีและภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วยังมีภาษีอื่นที่มีความสำคัญที่นักบัญชีภาษีอากรต้องเกี่ยวข้องอีก เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีระหว่างประเทศ หากขาดความรู้แล้วอาจสร้างผลกระทบให้มีเบี้ยปรับเงินเพิ่มหรือสร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีให้แก่องค์กรที่จะถูกมองว่าไม่ชำระภาษี จะยกตัวอย่างความเสี่ยงต่อข้อผิดพลาดจากการขาดความรู้ในแต่ละภาษี ดังนี้ 

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
    - บริษัทประกอบธุรกิจขนส่งในประเทศ ได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการก่อสร้างอาคารมาเพื่อใช้ในกิจการขนส่งซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ต้องคืนภาษีพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม กิจการขนส่งเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มมาตรา 81(1)(ณ) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้
    - บริษัทเรียกเก็บเงินค่าเสียหายตามสัญญาพร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม7% และดำเนินการออกใบกำกับภาษี กรณีค่าเสียหายไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือบริการจึงไม่มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต้องออกใบกำกับภาษี หากดำเนินการออกใบกำกับภาษีถือว่าออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกจะมีเบี้ยปรับสองเท่าของเงินภาษีมาตรา 89(6) แห่งประมวลรัษฎากร นอกจากนั้นหากผู้รับใบกำกับภาษีนำไปใช้เป็นภาษีซื้อก็จะไม่สามารถใช้ได้อาจเกิดเบี้ยปรับเงินเพิ่มอีกทางหนึ่งด้วย

  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
    การให้บริษัทในเครือกู้ยืมเงินเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% อย่างไรก็ตามจะมีข้อยกเว้นให้หากเข้าเกณฑ์ตามคำสั่ง กรมสรรพากรที่ ป.26/2534 คือ
    “กรณีบริษัทในเครือเดียวกันให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมาให้กู้ยืมในระหว่างกันเอง และไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
    คำว่า “บริษัทในเครือเดียวกัน” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไป ซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนอยู่ในบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม”

Post Date :
15 Apr 2020 15:03:45
 8600
Visitor
Create a website for free Online Stores